ธาตุกึ่งโลหะ,ธาตุกัมมันตรังสี

 ธาตุกึ่งโลหะ,ธาตุกัมมันตรังสี
สมบัติของธาตุ
  • โลหะ (metal) เป็นธาตุที่อยู่ด้านซ้ายของเส้นขั้นบันไดตามตารางธาตุ สามารถนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
  • อโลหะ (non-metal) เป็นธาตุที่อยู่ถัดจากเส้นขั้นบันได้ตามตารางธาตุ ไม่นำไฟฟ้า เปราะบาง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ
  • กึ่งโลหะ (metalloid) เป็นธาตุที่อยู่ทางด้านซ้าย มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ
ตารางเปรียบเทียบโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสี คือธาตุที่แผ่รังสีแอลฟา แกมมา หรือบีตาได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร และเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82 ซึ่ง เอ. เฮนรี่ เบคเคอเรล เป็นผู้ค้นพบกัมมันตภาพรังสี
  • รังสีแอลฟา (α-Rays) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำมาก ไม่สามารถผ่านแผ่นกระดาษหรือโลหะที่บางๆได้
  • รังสีบีต้า (β-Rays) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ มีอำนาจทะลุทะลวงมากกว่ารังสีแอลฟาถึง 100 เท่า ทะลุผ่านแผ่นโลหะบางๆได้ มีความเร็วใกล้กับความเร็วแสง
  • รังสีแกมมา (γ-Rays) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมาก จึงมีความยาวคลื่นสั้นมาก มีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ทะลุแผ่นตะกั่วที่หนาๆได้ ไม่มีประจุไฟฟ้า ไม่มีมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า แต่มีพลังงานมาก และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายคนได้มากด้วย
เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณรังสี เช่น กลักฟิล์ม เครื่องไกเกอร์เคาน์เตอร์
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี
  • ปฏิกิริยาฟิชชั่น (fission reaction) เกิดจากการยิงอนุภาคนิวตรอนไปยังนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี ทำให้นิวเคลียสแตก มวลของนิวเคลียสบางส่วนจะหายไป กลายเป็นพลังงานออกมา และเกิดนิวตรอนใหม่ ซึ่งเร็วพอที่จะยิงนิวเคลียสอะตอมอื่นต่อไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่
  • ปฏิกิริยาฟิวชั่น (fusion reaction) เกิดจากการที่นิวเคลียสขนาดเล็กรวมเขาดวยกัน ไดนิวเคลียสของธาตุที่หนักกวา และปลดปลอยพลังงานออกมา
ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
1.ด้านการเกษตร

  • ตรวจหาชนิดอาหารที่พืชต้องการ
  • ทำลายแมลงโดยทำให้เป็นหมัน
  • อาบรังสีผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เก็บได้นานหรือเพื่อถนอมอาหาร
  • ทำลายเซลล์มะเร็ง
  • ตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ศึกษาการไหลเวียนโลหิต
  • ตรวจหารอยรั่วของท่อแก๊สใต้พื้นดิน
  • ทำให้อัญมณีมีสีสวยงาม
  • วัดความหนาแน่นของวัตถุที่เป็นแผ่นบาง
  • การตรวจหาควันไฟเพื่อป้องกันไฟไหม้

2.ด้านการแพทย์
3.ด้านทหาร ใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์ (จรวด ระเบิด) เป็นเชื้อเพลิงในเรือรบ เรือดำน้ำ
4.ด้านอุตสาหกรรม
5.ด้านโบราณคดี ใช้หาอายุวัตถุโบราณได้ถึงประมาณ 30,000 ปี
6.ด้านพลังงาน ใช้เป็นเชื่อเพลิงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี
รังสีจะมีผลทำให้การสร้างเซลล์ในร่างกายมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์ และเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี อาจกลายเป็นมะเร็งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น